top of page

การวิจัยสร้างสรรค์ผลงาน วิดีโออาร์ต เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ชุดศิลปะเมืองเก่าและชีวิต Research a

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย อารีรุ่งเรือง

Asst.Prof. Dr.SUPACHAI AREERUNGRUANG

สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DAPARTMENT OF ART EDUCATION, FACULTY OF ARTS, SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY

บทคัดย่อ

            การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานเรื่องนี้มีที่มาและแรงบันดาลใจจากปัญหาของการอนุรักษ์เมืองเก่าลพบุรีที่เกิดปัญหาทางแนวคิดของหน่วยงานกับภาคประชาชน งานวิจัยจึงต้องการสร้างสรรค์งานศิลปะวิดีโออาร์ต เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผลงานสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะในด้านการสะท้อนสังคม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการร่วมมือด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และสร้างกระบวนการทำงานศิลปะ โดยการเก็บข้อมูลเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึกและนำมาวิเคราะห์ให้ทราบประเด็นสำคัญเพื่อนำไปสร้างสรรค์งานศิลปะวิดีอาร์ต

            จาการวิจัยและสร้างสรรค์ผลงาวิดีอาร์ต ผู้วิจัยได้สร้างกระบวนการสร้างสรรค์โดยนำปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งในการอนุรักษ์เมืองเก่าที่เกิดขึ้น และสามารถกระตุ้นให้เห็นคุณค่าของเมืองเก่าที่สัมพันธ์กับชีวิตของผู้คนได้ และสิ่งที่พบในการทำวิจัยนี้ทำให้รู้ว่า ในเรื่องของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนของท้องถิ่นกลับไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้มีหน้าที่ของรัฐไม่ได้ทำงานอย่างจริงจัง ขาดความรู้อย่างถูกต้อง ไม่ได้นำหลักวิชาหรือผลจากการวิจัยต่างๆ มาใช้ในด้านการปฏิบัติ อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องให้ความรู้ทางศิลปะในระดับง่ายไปจนถึงยาก เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในด้านศิลปะ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นร่วมสมัยยิ่งต้องได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างมาก ผลงานวิดีโอจึงได้สร้างให้เห็นภาพของชีวิตของคนเมืองลพบุรี กับการมองเห็นปัญหาและการหาแนวทางออกที่เหมาะสมที่สุด

Keywords: ศิลปะ เมืองเก่า การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ชีวิต วิดีโออาร์ต

Abstract

                 This research and development of art video has been inspired by conservation problems of the ancient city in Lopburi, which resulted from conceptual conflicts between the government and public sectors. The research is aimed to develop an art video to reflect the problems. The video’s purpose is to create arts in term of social reflection and to develop conscious mind on collaborating in cultural heritage conservation. The art work development process was included documentary filing, interviewing experts in depth, and analyzing the result to acknowledge important issues related to the art video development.

                  From the research and development of art video, the research has developed a creative process by considering problems caused by the conflicts on the conservation of the ancient city as information on developing the art video. The work is able to reflect the problems and encourage viewers to realize the value of the ancient city related to lives of people. The research has shown that the cooperation of public sector do not cause any problem. The problem actually arises from government officers whose work lacks of seriousness and accurate knowledge. In addition, the office do not apply any principles or research findings to operation. However, there is still a need to educate prople about arts ranging from preliminary to advanced levels so that they understand arts and culture, especially in support of contemporary style. The art video has been created to illustrate lives of people in the ancient city of Lopburi, the problems, and the most appropriate guidelines.

Keywords: Arts, Ancient City, Conservation of Thai Culture, Art Video

บทนำ

            ในประเทศไทยมรดกทางวัฒนธรรมที่คงอยู่ปรากฏเอกลักษณ์ของชาติมีอยู่มากมายผ่านกาลเวลามายาวนานสะท้อนให้เห็นถึงมิติทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ(เดชาวราชุน.2556)ที่มีความแตกต่างไปตามแต่ละยุคสมัยจวบจนในปัจจุบันมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านั้นได้มีคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดกระแสการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นต่างๆทางด้านการท่องเที่ยวที่จากเดิมการอนุรักษ์เป็นไปเพื่อการรักษาสภาพให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ในเชิงวิชาการทางประวัติศาสตร์และการอนุรักษ์

              การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมขององค์กรรัฐในบางกรณีได้สร้างความขัดแย้งให้กับชุมชนองค์กรอิสระภาคการศึกษาทั้งในระดับชุมชนถึงระดับชาติทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างอยู่บนพื้นฐานของจิตสำนึกอนุรักษ์ต่อสิ่งที่มีค่าทางมรดกวัฒนธรรมของชาติของแต่ละฝ่ายที่ต่างมีจุดประสงค์เพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เพื่อให้สิ่งที่อยู่ในชุมชนได้คงอยู่และยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปแต่อย่างไรก็ตามปัญหาของการที่คนรู้เท่าไม่    ถึงการได้มีส่วนทำลายสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม(สมชาติจึงศิริอารักษ์.2555)เช่นสถาปัตยกรรมสภาพแวดล้อมทางศิลปกรรมในชุมชนได้มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องในปัญหาลักษณะเช่นนี้ควรจะต้องมีการศึกษาและสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนให้มีความเข้าใจต่อปรากฏการณ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อจะได้มีการเฝ้าระวังต่อปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ที่มีผลต่อตัวเอง ชุมชน จนส่งผล กระทบต่อระดับชาติ             ในประเทศไทยมีเมืองที่จัดกลุ่มให้เป็นเมืองเก่า เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เมืองเก่าสุโขทัยเมืองเก่าพระนครศรีอยุธยาเมืองเก่าลพบุรีเป็นต้นซึ่งแต่ละเมืองมีความแตกต่างทางกายภาพ

ปัญหาของการทำงานจากภาครัฐที่มีผลกระทบต่อสังคม ชุมชน เมืองลพบุรีเป็นเมืองเก่าที่มีอายุมากกว่า3,500ปีมีหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาต่อเนื่องไม่ขาดสาย (ภูธร ภูมะธน.2556)  มีมรดกทางวัฒนธรรมที่สูงค่าตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีความ น่าสนใจต่อนักวิชาการในการสร้างแนวทางการอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ได้มีความคิดการอนุรักษ์เมืองเก่าโบราณสถานมาตลอดแต่ผลการศึกษาที่ผ่านมากลับไม่ได้นำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังจึงเกิดปัญหารุนแรงยากแก่การแก้ไขเช่นการทำลายหลักฐานลวดลายปูนปั้นซุ้มประตูกำแพงของราชวังนารายณ์เพื่อการเปลี่ยนผิวปูนฉาบใหม่ หรือ การทุบอาคารร่วมของโรงภาพยนตร์ทหารบก ที่สร้างในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นต้น

            จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ผู้วิจัยได้เคยทำงานด้านการอนุรักษ์เมืองเก่าได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จึงมีจุดประสงค์ที่จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมทางด้านทัศนศิลป์เป็นงานวิดีโออาร์ตเพื่อสื่อสะท้อนปัญหากระตุ้นจิตสำนึกอนุรักษ์ให้เกิดขึ้นในสังคมชุมชนของเมืองเก่าลพบุรีเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ชุมชนได้รับรู้จากผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถมองเห็นคุณค่าที่ซ่อนแฝ้งเร้นอยู่จนสามารถทำให้ชุมชนได้เห็นคุณค่าและนำมาสู่การพัฒนาสร้างคุณค่ารักษาให้เกิดประโยชน์ในระดับของชุมชนและระดับชาติ

วัตถุประสงค์การวิจัย

            1.เพื่อสร้างกระบวนการในการวิจัยสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์

            2.เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์ วิจารณ์ต่อการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเมืองเก่าลพบุรี

วิธีการดำเนินการวิจัย

            การวิจัยสร้างสรรค์เรื่องการวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานวิดีโออาร์ตเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชุดศิลปะเมืองเก่าและชีวิตเป็นการวิจัยประเภทการวิจัยและสร้างสรรค์ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการวิจัยออกเป็นขั้นตอน ดังนี้

            1. การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย

            2.การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์องค์ความรู้

            3. การสร้างสรรค์ผลงานวิดีโออาร์ต

            4. การวิเคราะห์ผลงานระหว่างการสร้างสรรค์วิดีโออาร์ต

            ผู้วิจัยได้กำหนดกรอบการวิจัยซึ่งมีแนวคิดในการสะท้อนถึงปัญหาของการอนุรักษ์เมืองเก่าการอยู่ร่วมกัน

ของชุมชนในเมืองเก่าที่แสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงคุณค่าของเมืองเก่าที่ประชาชนทุกคนล้วนมีส่วนในการ

อนุรักษ์กำหนดทิศทางในแง่ของเสรีประชาธิปไตยการทำงานของภาครัฐที่มีผลต่อการอนุรักษ์เมืองเก่าและสิ่งที่เกิดขึ้นจากการอนุรักษ์เมืองบนฐานความคิดที่แตกต่างกันความรู้ความคิดที่แตกต่างกันซึ่งสิ่งที่ต้องการสะท้อนคือการอยู่ร่วมแบบคำนึงถึงความเห็นต่างๆอันจะนำมาสู่การอนุรักษ์ที่ดี

            จากจุดมุ่งหมายหลักคือการสร้างสรรค์วิดีโออาร์ตผู้วิจัยได้แบ่งกรอบความคิดส่วนย่อยให้เห็นถึง

โครงสร้างการวิจัยหลักใหญ่ๆ คือ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ ซึ่งหัวข้อที่แบ่งออกมานี้ผู้วิจัยได้เพิ่มเติมองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงาน

            การศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์องค์ความรู้ประเด็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับการอนุรักษ์เมืองเก่าลพบุรีเพื่อสร้างสรรค์วิดีโออาร์ต ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนการศึกษาออกได้ดังนี้

            1.การศึกษาค้นคว้ารวบรวมเอกสารประเภทต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของทฤษฎีแนวคิดในเรื่องของเมืองเก่าการสร้างสรรค์งานการใช้สัญลักษณ์หรือสัญญะปรากฏการณ์วิทยาและบทสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการอนุรักษ์คนในพื้นที่และมีส่วนในด้านการอนุรักษ์กับ ปัญหาที่ได้เกิดขึ้นและองค์กรอิสระในด้านการอนุรักษ์ในท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี

            2.ผลงานการสร้างสรรค์และวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยมุ่งศึกษาในผลงานที่เป็นวิดีโออาร์ตของศิลปินไทยที่เกี่ยว ข้องเพื่อนำมาเป็นการอ้างอิงแนวคิดที่สอดคล้องในเรื่องของกระบวนการศึกษาและสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์ผลงานวิดีโออาร์ต 

            กระบวนการสร้างสรรค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาของชุมชนเมืองเก่าความคิดของผู้คนความเป็นไปได้ในการที่จะใช้ศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่าของเมืองเก่าและการอนุรักษ์โดยคนในสังคมท้องถิ่นให้ความสำคัญโดยแบ่งเป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์งานดังนี้

            1. การกำหนดกรอบคิดทางภาพและความหมาย

            2.การเขียนลำดับภาพของวิดีโอ

            3.การถ่ายทำ

            4.การตัดต่อ ลำดับภาพตามกรอบคิดทางภาพและความหมาย การใส่เสียงประกอบ

การวิเคราะห์ ผลงานระหว่างสร้างสรรค์วิดีโออาร์ต

            กระบวนการวิจัยทางศิลปะเพื่อนำผลการค้นคว้ามาสร้างสรรค์งานศิลปะในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำงานโดย การคิดวิเคราะห์ตัวผลงานไปในทุกขณะของการสร้างสรรค์งานเพื่อเป็นการพิจารณาผลที่ได้จากการ สร้างภาพเคลื่อนไหวจากการถ่ายทำวิดีโอแล้วมาทำงานต่อในขั้นตอนของการตัดต่อและการสร้างภาพพิเศษ รวมทั้งการสร้างสรรค์เสียงประกอบให้สนันสนุนหรือนำอารมณ์ความรู้สึกความหมายของผู้วิจัยสู่การรับรู้ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาหรือการไม่ประสบผลตามที่คาดไว้ในแต่ละขั้นตอน

การวิเคราะห์ผลงานวิดีโออาร์ต

            การวิเคราะห์ผลงานการสร้างสรรค์วิดีโออาร์ต ผู้วิจัยได้กำหนดหัวข้อในการวิเคราะห์ ดังนี้

            1 การวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างสรรค์

            ในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลจากการวิจัยค้นคว้าเก็บข้อมูลในส่วนต่างๆมาตีความที่ผู้วิจัยได้นำผลนั้น มาสู่การสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวคิดของผู้วิจัยที่ต้องการสื่อสาร

            2. การวิเคราะห์รูปแบบ

                        1. การวิเคราะห์ตัวโครงสร้างของผลงานองค์ประกอบทางศิลปะของงานวิดีโอ

                        2. การวิเคราะห์สัญญะในผลงานวิดีโอ

            3. การวิเคราะห์ด้านคุณค่าของผลงานการสร้างสรรค์

การพัฒนาวิดีโออาร์ต

            ผู้วิจัยได้นำผลวิเคราะห์ในส่วนต่างๆมาทำการพัฒนาตัวผลงานหลังจากที่ได้แสดงผลงานทดลองไปแล้ว โดยแบ่งหัวข้อดังนี้

            1.การพัฒนาแนวคิดในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลงานการทดลองสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนมาพัฒนางานให้มุ่งสู่วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์

            2.การพัฒนารูปแบบเป็นขั้นตอนการนำผลงานการทดลองมาพัฒนาคิดค้นหารูปแบบที่สามารถตอบวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด และส่งผลต่อเนื้อหาของผลงาน

การวิจัยสร้างสรรค์ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์ในส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

            1. การวิเคราะห์แนวคิดการสร้างสรรค์

            2. การวิเคราะห์ผลงานวิดีโออาร์ต

            3. การวิเคราะห์ด้านคุณค่าผลงานการสร้างสรรค์

การวิเคราะห์แนวคิดในการสร้างสรรค์

            จากกรอบแนวคิดสร้างสรรค์ของผู้วิจัยที่มีการกำหนดประเด็นของการศึกษาข้อมูลที่สำตัญต่อการนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานวิดีโอ

อาร์ต สามารถนำมาวิเคราะห์ในแต่ละประเด็น ดังนี้

            แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะกับการอนุรักษ์เมืองเก่า

            จากการค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารต่างๆและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยว

ข้องกับงานวิจัยได้แก่

            1. ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์

            2.อาจารย์ภูธร ภูมะธน เคยรับราชการในกองพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรมศิลปากรอดีตประธานชมรมอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุและสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ดีเด่น รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปาล์ม อะคาเดมิคส์ ชั้นเชอวาลิเยร์ (อัศวิน) จากประเทศฝรั่งเศส

            3.ผศ.ดร.กาสัก เต๊ะขันหมาก ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีผลงานการวิจัยท้องถิ่นในลพบุรีมากมาย

            4. ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

            นอกจากนั้นผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะวิดีโอโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานอยู่ในพิพิธภัณฑ์มานานได้เห็นการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเพื่อให้ได้เนื้อหาที่มาจาก  ประสบการณ์ผ่านการวิเคราะห์เสนอแนะโดยมุมมองของคนที่ทำงานและคนลพบุรี เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ

            1.คุณสมบูรณ์ พุ่มสกุล เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

            2.คุณสมาน นาคประสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ 

            อีกทั้งในการศึกษาค้นคว้าในส่วนของเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้นผู้วิจัยได้นำมาเป็นส่วนวิเคราะห์ร่วมกับ

แนวคิดจากการสัมภาษณ์ในประเด็นของศิลปะเมืองเก่าและชีวิตเพื่อนำมาเป็นข้อมูลหรือเนื้อหาในตัวงานศิลปะ

วิดีโออาร์ต ดังนี้

            เดชาวราชุน (เดชาวราชุน, 2556) ได้ให้ความเห็นว่าการปลูกฝังเรื่องศิลปะให้กับผู้คนเป็นเรื่องยาก

อาจจะเริ่มจากการมีพื้นที่ศิลปะในสังคมเพื่อให้ผู้สร้างสรรค์เข้าไปจัดกิจกรรมเป็นตัวอย่างให้นักเรียน นักศึกษา

ความเป็นเมืองลพบุรีเมืองเก่าคงจะไม่เพียงแต่สร้างศิลปะที่เป็นปั้นลิงแต่ต้องให้ความรู้ สามารถดูงานศิลปะเป็น

แยกแยะแต่ละประเภทได้อีกประการหนึ่งคือ คนไม่ได้เห็นงานศิลปะเท่ากับการฟังดนตรีเพลง

หรือการแสดงแม้กระทั่งการให้ความรู้หากไม่ได้มีการสร้างให้เป็นผลงานศิลปะถาวรไว้ให้ดูไม่นานความรู้หรือความรู้สึกต่อศิลปะของคนก็จะลืมเลือนไปและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ ทุน ในการทำงาน ที่ควรจะใช้ทุนที่น้อย แต่ให้เกิดผลต่อคนในสังคมมากที่สุด

            ภูธร ภูมะธน (ภูธร ภูมะธน, 2556 )การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับทางศิลปะนั้น การมีส่วนร่วมกับ

ชาวบ้านที่อาจจะไม่สามารถตัดสินใจบางอย่างได้เพราะพลังขับเคลื่อนไม่ใช่ชาวบ้าน แต่เป็นปัญญาชนกับผู้มี

หน้าที่อำนาจโดยตรง ดังนั้นจึงมีคำถามว่าจะทำอย่างไรให้ผู้มีหน้าที่ให้มาเป็นพลังขับเคลื่อนไม่ใช่มุ่งแต่ชาวบ้านเท่านั้นซึ่งชาวบ้านในหลักการมักจะเจียมเนื้อเจียมตัวได้รับรู้ก็เพียงพอแล้ว

           เรื่องการเห็นคุณค่าของศิลปะของคนในเมืองความรู้ต้องมีก่อนการรวมกลุ่มเพื่อไม่ให้สิ่งที่มีคุณค่า

สูญไปการสร้างกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ซึ่งการทำงานศิลปะจะอยู่ขั้นตอนนี้หากจะทำจะต้องไปเริ่มจากกลุ่มที่

ชาวบ้านเค้ารู้ว่าสิ่งที่เค้ามีอยู่แล้วเช่นกลุ่มวัดยางในการอนุรักษ์เช่นการจัดวาดภาพ การจัดทำเรือจำลองหรือกลุ่ม

วัดไลย์ที่มีปูนปั้นก็อาจจะจัดปั้นปูนสรุปว่าจะต้องไปเริ่มที่คนที่มีกลุ่มอยู่แล้วปัญหาของกลุ่มเมืองเก่าคือ การไม่

สามัคคีในกลุ่มชุมชน ต้องมีเทศบาล ททท. สำนักงานจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรม สำนักพุทธศาสนา

       การเริ่มควรเริ่มจากชุมชนที่มีการรวมกลุ่มอยู่แล้วและจะต้องบอกได้ว่าชาวบ้านจะได้อะไร เรื่อง

สุนทรียภาพอย่างเดียวไม่เพียงพอ และการให้ความรู้กับชุมชน เพื่อให้ไปต่อยอดความคิดศิลปะที่จะสร้างจะ

ท้าทายความคิดสู่สังคม ให้เกิดการวิพากษ์ เช่นลพบุรีควรมีการตกแต่งด้วยประติมากรรม หรือไม่หรือให้เกิด

คุณค่าของเมืองประเด็นนั้นผู้คิดสามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งคนอื่น และดูผลที่เกิดขึ้นว่าหลังจาก

ทำไปแล้ว สังคมยอมรับหรือไม่ หรือเกิดรายได้มากขึ้นหรือไม่

            กาสัก เต๊ะขันหมาก (2556)  การรับรู้เรื่องศิลปะทางทัศนศิลป์ ชาวบ้านมีความซาบซึ้งค่อนข้างน้อยซึ่งต้องมองที่การใช้ประโยชน์ซึ่งแตกต่างจากศิลปะการแสดงอาจจะดูแล้วมี ประโยชน์ต่อชาวบ้านมากกว่า ชาวบ้านกับการเชื่อมโยงศิลปะในลพบุรีค่อนข้างน้อย ความรู้ต่างๆในประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตของคนในเมืองเก่าอาจจะเนื่องจากการศึกษาไม่ได้ให้ความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หรือศิลปะ ภาครัฐไม่ใส่ใจ ท้องถิ่นยิ่งห่างไกล ดังนั้นเมื่อไม่มีคุณค่าไม่เห็นความสำคัญ จึงไม่แปลกที่เกิดการบุกรุก ทุบอาคารเก่าทิ้งไป เช่น โรงภาพยนตร์ทหารบก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสังคมต้องทำงานมากขึ้น เช่น กระทรวงวัฒนธรรม หน่วยงานรัฐในท้องถิ่น โดยสรุปคือต้องสร้างให้สังคม คนเห็นคุณค่า ประโยชน์ในวิถีชีวิตปัจจุบัน และบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต้องมีส่วนในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมแต่ก็ไม่อาจจะทำลำพังได้ซึ่งต้องร่วมมือ ปรับบทบาทในฐานะเป็นผู้จุดประกาย และทำหน้าที่อำนวยความสะดวก

            ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯสมเด็จพระนารายณ์ (พูลศรี จีบแก้ว, 2556) พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ ขณะนี้มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีบทบาทร่วมกับประชาชน ให้ความรู้ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงผู้สูงอายุซึ่งพิพิธภัณฑ์นี้มีจุดขายเรื่องความเป็นพิพิธภัณฑ์เก่าแก่และมีของจัดแสดงที่พบในลพบุรี 80% จึงเป็นสิ่งภูมิใจขณะนี้ได้มีการเปิดตัวออกไปสู่ประชาชนสถานศึกษาการเผยแพร่ด้านการจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ให้ครูนักเรียนเข้าใจเชื่อมโยงการเรียนการสอนส่วนข้อจำกัดของการบริหารคือด้านงบประมาณที่จะกัดดังนั้นจึงใช้ ด้านกิจกรรมเสริมเพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อให้คนเข้ามานั่งด้วยความร่มรื่นมีความสุขและมีความยินดีกับการทำโครงการเพื่อเอื้อกับความรู้สุนทรียะแต่อย่างไรก็ตามควรจะคำนึงถึงคุณภาพ ของกิจกรรมที่จัดเพื่อให้เกิดคุณค่ที่คนเห็นแล้วเป็นประโยชน์ทั้งคุณค่าในศิลปะ และคุณค่าของชีวิตหรือเป็นสิ่งที่หาดูได้ยากเมืองลพบุรีมีศักยภาพที่ทำกิจกรรมทางศิลปะได้มากเพราะมีสิ่งที่ มีคุณค่าในเมืองอยู่แล้วเพียงแต่คนลพบุรีอาจจะ คุ้นชินจนมองไม่เห็นความสำคัญของคุณค่านั้นซึ่งต้องปลุกคุณค่าให้คนได้เห็นหรือแม้กระทั่งวัฒนธรรม อาหารการกิน ก็สามารถนำมาให้เห็นได้ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

            จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ให้ข้อคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เป็นข้อมูลสำคัญถึงปัญหาหรือความเป็นไปได้ที่เมืองเก่าลพบุรีจะสามารถใช้ ศิลปะเข้าไปสร้างกิจกรรมให้คนได้เกิดจิตสำนึกถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ศิลปะ มรดกทางความทรงจำที่มีอยู่ และไม่เหมือนกับเมืองใด โดยสรุปได้คือ

            1. ความสำคัญของการให้การความรู้เรื่องศิลปะ หมายถึง ต้องสร้างให้คนเข้าใจ ดูงานศิลปะ วิจารณ์เป็นแยกแยะลักษณะของศิลปะได้เพื่อให้เกิดการรับรู้ในศิลปะที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเชื่อม

โยงกับอดีตได้อันเป็นปัญหามาจากการไม่เข้าใจในตัวงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ร่วมสมัยเนื่องจากการรับรู้ความเข้าใจของคนนักเรียนครูอาจารย์อาจจะยังมีความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของศิลปะในโลกปัจจุบัน จึงทำให้สิ่งที่จะเกิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่เกิดขึ้นได้ยาก

            2.ในภาคประชาชนมีการรวมกลุ่มในด้านการส่งเสริมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมธรรมชาติซึ่งโดยประชาชนเองนั้นพร้อมจะทำกิจกรรมส่งเสริมเนื่องจากองค์กรอิสระอย่างเช่น ชมรม อนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรีได้ทำหน้าที่ด้านนี้ในการสร้างกลุ่มประชานในพื้นที่ๆมีสิ่ง สำคัญของชุมชนเช่นวัฒนธรรมประเพณีศิลปะโบราณสถานทรัพยากรทางธรรมชาติมายาวนานมากกว่า3ทศวรรษ เพียงแต่ต้องทำให้หน่วยงานของรัฐผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงลงมาทำงานอย่างจริงจังให้มากกว่านี้รับผิดชอบให้มากกว่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดของผู้ที่สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆที่ต้องการสร้างให้สังคมในเมืองเก่า ลพบุรีได้ทำงานโดยมุ่งไปที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมแต่เอาเข้าจริงๆแล้วหน่วยงานต่างหากที่กลับไม่ทำหน้าที่ของ ตนเอง โดยมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นระบบ

            3.งบประมาณที่จะต้องนำมาใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมทางศิลปและวัฒนธรรมจะต้องใช้งบประมาณ การทำงานแต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่จะเข้ามาทำงานนั้นต้องการสร้าง ส่งเสริมกิจกรรม ควรจะต้องไม่สร้างแต่เฉพาะกิจกรรมทางศิลปะแต่อย่างเดียวจะต้องนำกิจกรรมอื่นๆ มาผนวกรวมเข้าด้วยกัน เช่น ทางวิชาการ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนเห็นเป้าหมายว่า จะสามารถทำให้เขามีรายได้จากการประกอบกิจการ ธุรกิจได้

            สรุปได้ว่าการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความรู้อย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไปให้กับสังคม คนในเมืองลพบุรีให้เห็นถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่ามากยิ่งขึ้นให้เห็นถึงความ

เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองที่ไม่เหมือนเมืองอื่นๆในประเทศไทยและต้องพยายามให้คนที่มีหน้าที่โดยตรงเข้า มาร่วมกันทำงาน ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

            ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดที่ได้วิเคราะห์สรุปนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์วิดีโอให้เห็นถึงคนในชุมชน เมืองเก่า ที่มีการรับรู้การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมากับความเป็นเมืองเก่า และสภาพของสังคมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสะท้อนให้เกิดการเห็นคุณค่าของมรดก ทางวัฒนธรรมของเมืองลพบุรี โดยผู้วิจัยได้นำภาพนิ่งจากวิดีโอมานำเสนอ ดังนี้

การวิเคราะห์ผลงานวิดีโออาร์ต

            การสร้างสรรค์วิดีโออาร์ตในชุดนี้ผู้วิจัยได้มุ่งความสนใจและต้องการนำเสนอผลงานให้สะท้อนเห็นถึง ความมีชีวิตของเมืองเก่าของจังหวัดลพบุรีในฐานะเมืองที่มีผู้คนอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตลอดยุคสมัยในอดีตที่พระมหากษัตริย์ ผู้นำประเทศเลือกดินแดนลพบุรีเป็นที่ตั้งของเมืองลำดับที่2รองจากเมืองหลวงเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจอมพลป.พิบูลสงคราม จึงเป็นที่ประจักษ์ว่าเมืองลพบุรีมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์โบราณคดีความสำคัญที่เกี่ยวกับบุคคล หรือทางศิลปวัฒนธรรมศิลปกรรมแขนงต่าง

            สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องการเน้นให้เห็นส่งผลมาสู่แนวคิดของภาพที่ปรากฏในเรื่องของชีวิตของผู้คนใน ปัจจุบันความคิดในมิติต่างๆที่ล้วนมีผลต่อความเป็นเมืองเก่าการอนุรักษ์การทำงานกิจกรรมด้านต่างๆที่ผ่านมา และสิ่งที่อาจจะเกิดการสร้างสรรค์ในอนาคตเพื่อให้ทราบถึงทิศทางความเป็นไปได้ของกิจกรรมทางศิลปะ ที่ต้องสอดคล้องกับชีวิตของคนในเมืองลพบุรีด้วยเป็นสำคัญ

            ดังนั้นภาพที่ปรากฏในงานวิดีโอจึงเห็นความเป็นคนเมืองลพบุรีความคิดของคนการดำรงชีวิตที่เคลื่อน ไหนหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกๆวันของการทำมาหากินการเปลี่ยนสภาพของเมืองโดยรอบพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ ยังคงอยู่กับการเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านั้นเพื่อสะท้อนความจริงในด้านคนเมืองเก่า และศิลปะว่ามันเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกในเชิงลึกที่ผู้ที่มีหน้าที่ในด้านการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมต่างๆที่จะสามารถทำให้คนมีความคิดที่ปรับไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อเกิดมิติทางการ สร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับเมืองให้ศิลปะได้เข้าไปสร้างให้คนเห็นถึงความจริงที่ศิลปะอยู่ในวิถีชีวิตของ คนเมืองเก่าเพื่อจะสามารถสร้างให้คนได้คิดอย่างน้อยก็ให้เป็นแนวทางที่ใกล้เคียงกัน ส่งผลถึงการพัฒนาในชีวิตให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น

การวิเคราะห์ด้านคุณค่าของผลงานการสร้างสรรค์

            ผลงานวิดีโออาร์ตได้แสดงให้เห็นคุณค่าของการนำสื่อสร้างสรรค์ไปใช้เพื่อสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคม เมืองเก่าลพบุรีแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงแห่งเดียวในเรื่องของการขัดแย้งทางความคิดของหน่วยงานที่ รับผิดชอบกับหน่วยงานอิสระของประชาชนในท้องถิ่นที่ส่งผลถึงการรับรู้ปัญหาได้เข้าถึง ง่ายในการรับรู้และถ่ายทอด

            คุณค่าอีกประการของงานสร้างสรรค์วิดีโออาร์ตชุดนี้คือการที่มีผลต่อคน สังคมได้เห็นและกระตุ้นความคิดในสิ่งที่เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแต่ไม่เห็นถึงความคิดมีคุณค่าของศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของสังคมเมืองเก่าลพบุรีหรือประเทศชาติเพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสมบัติของประชาชน ทุกคนที่ต้องมีส่วนร่วมช่วยสนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์อย่างมีทิศทางและถูกต้อง แม้กระทั่งหน่วยงานรัฐที่มีบุคลากรทำหน้าที่โดยตรงก็ต้องเห็นถึงความสำคัญของหน้าที่ตนเอง ไม่เพียงแต่รอนโยบายเพียงอย่างเดียวเพราะปัญหาเป็นสิ่งใกล้ตัวจนบางครั้งก็มองไม่เห็นจนเมื่อมันเสียหายยากที่จะนำกลับคืนเมื่อนั้น อาจจะเป็นการช้าที่เกินแก้ไขไปแล้ว

            คุณค่าในด้านการสร้างสรรค์นี้ยังเป็นแนวทางในการทำงานทางศิลปะโดยใช้สื่อเทคโนโลยีมาใช้ให้ เกิดประโยชน์ในแง่ของศิลปะสุนทรียภาพที่สังคมโลกได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วดังนั้นศิลปะกับการปรับเปลี่ยนทางสังคมการสร้างสรรค์จึงควรที่จะมีความสอดคล้องไปพร้อมกันและส่งผลต่อแนวทางการสร้างสรรค์ของผู้ที่ ทำงานศิลปะในแขนงทัศนศิลป์อีกด้วยที่น่าจะใช้เป็นแนวคิดในการประยุกต์ใช้ ในการทำงานศิลปะ

            จากสิ่งที่ปรากฏในผลงานนั้นเป็นสัญลักษณ์ของตัวคำพูดหรือการตีความที่มาจากต่างคนต่างกลุ่มใน การกำหนดกฏเกณฑ์ขึ้นมาการมองเห็นสิ่งที่ปรากฏและตีค่าตัวมรดกทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมว่ามันยังคงมีชีวิต หรือการมองตัวมรดกทางสถาปัตยกรรมว่าเป็นสิ่งที่ตายแล้ว (Dead Monument or Life Monument) จึงทำให้เกิดการตีความต่างกัน ขัดแย้งกัน แต่ปัญหาเหล่านี้นั้น คนที่อยู่รอบเมืองเก่าชุมชนอาจจะไม่รู้หรือรู้สึกหากไม่ให้ข่าวสารข้อมูลทางด้านวิชาการถึงการตีความกับสิ่งที่ ทุกคนต่างมีส่วนในการตัดสินใจเป็นเจ้าของเพราะต่างคนต่างตระหนักเฉพาะปัญหาของการดำรงชีวิตให้ สามารถทำมาหากินกับอาชีพการงานรับผิดชอบของตนเองจนอาจจะไม่ได้เห็นสิ่งที่มีอยู่กับสิ่งที่มันหายไป

สรุปและการอภิปรายผล

            การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงาน วิดีโออาร์ตเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ชุดศิลปะเมืองเก่า และชีวิต เป็นการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างกระบวนการในการวิจัยสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์และการนำผลจากการวิจัยไปใช้กับสังคมทั้งทางด้านการกระตุ้นการวิจารณ์ต่อการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ผล งานทางศิลปะวิดีโออาร์ตผู้วิจัยได้มีการอภิปรายผลและสรุปการวิจัยตามลำดับดังนี้

            จากการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ว่าเพื่อเป็นการสร้างกระบวนการในการวิจัยสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเมืองเก่าลพบุรี จากการศึกษาข้อมูลด้านเอกสารการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับคนในเมืองเก่าและผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์เมืองเก่าศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วนำมาจัดระบบทางความคิดประกอบกับทฤษฎีด้านปรากฏการณ์วิทยาและสัญญะวิทยาจึงทำให้ผู้วิจัยพบ โครงสร้างของกระบวนการการสร้างสรรค์ที่มีความสัมพันธ์กับสังคมและคนเมืองเก่าลพบุรีแล้วนำมาตั้งคำถาม ตีความกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของคนเมืองเก่าลพบุรีต่อการมองเห็นสิ่งที่มีคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมซึ่ง ผู้วิจัยได้นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะดังปรากฏในวิดีโออาร์ตที่ได้เสนอให้เห็นถึงความคิดของคนเมืองเก่า ลพบุรีความคิดของผู้เชี่ยวชาญทางการอนุรักษ์และศิลปะเพื่อให้สะท้อนความคิดที่มีทั้งสอดคล้องเป็น ทิศทางเดียวกันในการมองคุณค่าของเมืองและความคิดที่มีความแตกต่างกันอีกประการหนึ่งคือเรื่องของการให้ข้อคิดเห็นต่อการนำศิลปะมาใช้สร้างสรรค์ให้กับคนเมืองเก่าลพบุรีสังคมลพบุรีด้วยวิธีการในด้านการให้ความรู้

            ผลการวิจัยนี้มีผลที่สอดคล้องกับการทดลองใช้ศิลปะร่วมกับมิติทางสังคมที่ได้มีการทำให้คนกับตัวศิลปะ

สามารถเข้าถึงได้ง่ายไม่แยกส่วนจากกันดังเช่นงานของคามินเลิศชัยประเสริฐหรือฤกษ์ฤทธิ์ตีระวนิชที่ได้สร้างกระบวนการทางศิลปะต่อผลกระทบของคนในสังคมให้เข้ามามีส่วนสัมพันธ์กับตัวงานศิลปะอีกทั้งผลจากการใช้กรอบ คิดของทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา(Phenomenology)โดยเอ็ดมันฮูสเซอร์ล(EdmundHusseri)ที่ว่าด้วยการตั้ง  คำถามต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นถึงความหมายของมันจึงทำให้ได้เนื้อหาต่อการสร้างสรรค์ในงานศิลปะวิดีโออาร์ตที่ นำมาสู่การตีความจากเนื้อหาสู่สัญลักษณ์โดยการสร้างภาพให้เห็นความเป็นคนเมืองเก่าที่ได้รับรู้ผลจากการ อนุรักษ์พัฒนาเมืองเก่าตั้งแต่อดีตในช่วง30ปีที่ผ่านมาให้อยู่ในผลงานและการใช้สัญลักษณ์ของข้อความที่มาจากการให้ข้อคิดเห็นของแนวทางการพัฒนาเมืองที่ควรจะเกิดขึ้นต่อไป

1.     สรุปผลการวิจัย

            การวิจัยสร้างสรรค์วิดีโออาร์ตเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ชุดศิลปะเมืองเก่าและชีวิต สารมารถสรุปได้ 2 ประเด็นคือ

            1.1  ผลการศึกษาเรื่องการสร้างกระบวนการสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์

            ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีต่างๆที่จะส่งผลมาสู่การสร้างสรรค์ ผู้วิจัยต้องการสื่อให้เห็นถึงความเป็นเมืองเก่าที่มีคุณค่าท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน กับชีวิตของคนในชุมชนเมืองเก่ากับการมองเห็นถึงปัญหาผลที่ได้จากการนำแนวความคิดจากเอกสารการ สัมภาษณ์การลงพื้นที่จึงนำมาสู่ความคิดของผู้วิจัยที่ต้องการให้ผลงานสร้างสรรค์ได้สื่อให้เห็นถึงภาพชีวิตของ คนในเมืองเก่าลพบุรีที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระราชวังสมเด็จนารายณ์ราชนิเวศน์ที่ได้เห็นความการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลา30ปีได้บอกถึงสิ่งที่ได้พบเห็นผ่านการบอกเล่าให้สังคมได้รับทราบ

            ในผลงานวิดีโอยังได้นำเสนอภาพของสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในเมืองเก่าวิถีชีวิตของประชาชน รอบเมืองเก่าเพื่อให้เห็นถึงความเป็นปัจจุบันของการดำรงชีวิตที่อยู่ร่วมกับพื้นที่ของเมืองเก่าที่เป็นเสมือน ชีวิตที่ต้องอยู่อาศัยร่วมกันแต่แนวทางการอนุรักษ์ของเมืองเก่าจากนโยบายจากส่วนกลางอาจจะมี ความแตกต่างกัน หมายถึงการพยายามให้เมืองอยู่ในแบบที่มีการจัดระเบียบพื้นที่ แต่อาจจะมีการแยกส่วนระหว่างเมืองเก่ากับวิถีชีวิตที่อาจจะส่งผลต่อความรู้สึกของคนในท้องถิ่นเอง และคนที่ต้องการเข้ามาท่องเที่ยวในเมืองเก่าลพบุรีในแหล่งโบราณสถานต่างๆซึ่งสิ่งเหล่านี้เองผู้วิจัยจึงสร้างให้เห็นภาพของการอยู่ร่วมกันของคนและเมืองเก่าที่มีความเป็นไปได้ต่อการนำศิลปะเข้ามา

ใช้เพื่อการพัฒนาต่อไป

            1.2ผลศึกษาการวิจารณ์ต่อการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของเมืองเก่าลพบุรี

            จากการศึกษาพบว่าการที่จะสร้างให้เกิดกิจกรรมในด้านศิลปะให้กับชุมชนเมืองเก่าจะต้องให้ความรู้ในเนื้อหาต่างๆที่มีความสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่นให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่ชุมชนนั้นมีอยู่ความรู้ทางศิลปะร่วมสมัยเพื่อให้เกิดการเปิดรับศิลปะส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์โดยคนในชุมชนเองและการให้ความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์เพื่อสนับสนุนแนวคิดในการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่

            โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองเก่าขณะนี้นั้นคือผู้ที่มีความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้ทำงานกันอย่างจริงจังกลับเป็นการทำงานของภาคประชาชนดังนั้นถ้าจะกล่าวว่าภาคประชาชนไม่มีส่วนร่วมนั้นไม่จริงซึ่งจะต้อง พยายามชักชวนให้ภาครัฐได้ลงมือกับการสร้างสรรค์ความคิดในการทำกิจกรรมกับเมืองในมิติของศิลปะแบบใหม่ๆ ให้เกิดการส่งเชื่อมโยงกับคุณค่าในมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มากที่สุด

เอกสารอ้างอิง

กาสัก เต็ะขันหมาก. (2556, 27 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ศุภชัย อารีรุ่งเรือง, ที่สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

เดชา วราชุน. (2556, 25 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ศุภชัย อารีรุ่งเรือง, โรบินสัน สาขารัชดา  กรุงเทพมหานคร.

สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (2555, กันยายน-สิงหาคม). ความเชื่อและแนวความคิดในการอนุรักษ์             โบราณสถานของไทย จาก อดีตสู่ปัจจุบัน. หน้าจั่ว. (8): 107-127.

ภูธร ภูมะธน. (2556, 28 มีนาคม). สัมภาษณ์โดย ศุภชัย อารีรุ่งเรือง, ชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุ             สถานและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลพบุรี.

พูลศรี จีบแก้ว. (2556, 11 มิถุนายน). สัมภาษณ์โดย ศุภชัย อารีรุ่งเรือง, พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช.


ดู 208 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page