top of page

วิเคราะห์ลายไทย สกุลช่างวัดเชิงหวาย (1)




ผมขอชวนวิเคราะห์ลวดลายไทย สมัยอยุธยา ที่ท้าทายกาลเวลาหลุดรอดจากการล่มสลาย กลายเป็นสินค้าส่งออก ณ วันนี้อยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่นักวิชาการทางศิลปะไทย ยกย่องให้เป็นสุดยอดของยุคทองในศิลปะอยุธยา นามว่า "สกุลช่างวัดเชิงหวาย"

การรับรู้ที่ปลูกฝังกันมาว่า ลายไทยเป็น 2 มิติ ไม่มีระยะ ตื้น ลึก แต่จริง ๆ แล้ว ไม่เป็นจริงอย่างนั้น หากวิเคราะห์ดูจากลายที่ตู้พระธรรม สกุลช่างวัดเชิงหวาย (จากภาพประกอบ) ผมได้ถอดส่วนประกอบลวดลายที่ประกอบด้วย เถาลาย กระหนก ออกเป็นส่วน ๆ ก็จะเห็นว่า การผูกลายสกุลช่างวัดเชิงหวายของตู้พระธรรมนี้ ฉีกขนบประเพณีการออกแบบลวดลายที่แตกต่างจากลายอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด


จากภาพที่ผมได้วาดเส้นให้เห็นการทับซ้อนลาย จะเห็นว่า ช่างออกแบบตั้งใจให้กระหนกแต่ละตัว รวมทั้ง กาบ แต่ละส่วน มาทับซ้อนข้ามโครงสร้างของเถาลาย เพราะลายโดยทั่วไป กระหนกจะอยู่ในช่องว่างระหว่าง เถา แต่ละเถาลาย (เถา หมายถือ ก้าน ลำต้น ของพืช ต้นไม้ ในความหมายของลายไทย เถา เป็นโครงสร้างให้ลายกระหนก แตกออกไปสู่ที่ว่าง) ดังนั้น การศึกษาลายไทย ควรจะเข้าใจโครงสร้าง และมิติ ที่อยู่ในลวดลาย

ดู 395 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page